หน้าเว็บ

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

บทที่ 8 การกำหนดปัญหา



บทที่ 8 การกำหนดปัญหา

 การกำหนดปัญหา

การพัฒนาโครงงานเป็นกิจกรรมที่เริ่มจากการศึกษาสิ่งที่นักเรียนสนใจ จากนั้นดำเนินการออกแบบ วางแผน ลงมือปฏิบัติจนเกิดผลลัพธ์ และเผยแพร่ผลงานนั้น ซึ่งนักเรียนจะเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในสิ่งที่สนใจอย่างถ่องแท้

แนวทางการพัฒนาโครงงาน ควรเริ่มจากการกำหนดปัญหา  ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน หรือปัญหาที่มีผู้แก้ไขไว้แล้ว แต่เราเห็นช่องทางที่จะพัฒนาให้ดีขึ้น หลังจากกำหนดปัญหาแล้ว เราต้องทำการศึกษาและกำหนดขอบเขตของปัญหา ที่ต้องการแก้ไข รวมทั้งศึกษาความรู้เพิ่มเติม แล้ว วางแผนกำหนดกิจกรรมและการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ

จากนั้นดำเนินการพัฒนาโครงงานตามแผนที่วางไว้ ซึ่งระหว่างการพัฒนา อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนแผน เพื่อให้พัฒนาโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดที่กำหนดไว้ เมื่อพัฒนาโครงงานเสร็จแล้ว จึงทำการ  สรุปผลและเผยแพร่ผลงานเพื่อเป็นประโยชน์แก้ผู้อื่นต่อไป


การกำหนดปัญหา
การพัฒนาโครงงานที่ดี จะต้องมีการกำหนดปัญหาให้ชัดเจนว่า ปัญหาคืออะไร เกิดจากอะไร
มีประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง สามารถแก้ไขหรือปรับปรุงใดได้บ้าง โดยแนวทางการกำหนดปัญหามีดังนี้
1. ที่มาของปัญหา
1.1 ปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น การควบคุมค่าใช้จ่ายส่วนตัว หรือในครอบครัว เป็นต้น
1.2 ปัญหาในการเรียน หรือการทำงาน เช่น การลืมทำการบ้าน
1.3 ปัญหาในระดับชุมชน หรือระดับประเทศ เช่น ปัญหานักท่องเที่ยวไม่รู้จักแหล่งท่องเที่ยวในชุมมชน

2. แหล่งจุดประกายความคิดในการพัฒนาโครงงาน  อาทิ
กิจกรรมในชีวิตประจำวัน การเรียน งานอดิเรก และงานที่รับผิดชอบ
โทรทัศน์ รวมทั้งข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต
หนังสือ วารสาร ภาพยนตร์ การ์ตูน เกม หรือสื่อต่างๆ
การเข้าค่ายอบรม การร่วมอภิปราย
ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน หรือแหล่งท่องเที่ยว

3. องค์ประกอบเพื่อการตัดสินใจเลือกโครงงาน
 3.1 ความรู้ ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และประสบการณ์ของผู้ทำโครงงาน โดยพิจารณาได้จากคะแนนวัดผลความรู้หรือผลงานที่เคยปฏิบัติ
 3.2 ประโยชน์ของโครงงาน โดยโครงงานนั้นจะต้องสามารถนำภาระงาน ชิ้นงาน และกิจกรรมอิสระนั้นไปพัฒนาและใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
3.3 ความคิดสร้างสรรค์ โดยเป็นโครงงานที่ไม่มีผู้ใดทำไว้หรือเป็นการพัฒนาโครงงานที่มีผู้อื่นทำไว้แล้ว ซึ่งโครงการนั้นจะต้องมีความแปลกใหม่และทันสมัย
3.4 ระยะเวลา โดยผู้ทำโครงงานควรกำหนดวันสิ้นสุดโครงงานให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถประมาณระยะเวลาลงในตารางดำเนินการของโครงงานในแต่ละขั้นตอน
3.5 ค่าใช้จ่าย โดยผู้ทำโครงงานจะต้องประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมด ยึดหลักความคุ้มค่า ในการทำโครงงานด้วยการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วมากกว่าการจัดหาใหม่
3.6 ความปลอดภัย โดยผู้ทำโครงงานควรเลือกทำโครงงานที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ทำโครงงาน สังคม และประเทศชาติ หากโครงงานนั้นมีความเสี่ยงที่อาจเกิดอันตราย ผู้ทำโครงงานควรประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การทำโครงงานคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ในการดูแลและควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ(Professional)
3.7 ค่านิยมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยผู้ทำโครงงานควรหลีกเลี่ยงการทำโครงงานที่ขัดต่อความเชื่อ วัฒนธรรม หรือประเพณีต่างๆ ของท้องถิ่น






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น