บทที่ 3 การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction)
การคิดเชิงนามธรรม คือ
กระบวนการคัดแยกคุณลักษณะ
ที่สำคัญออกจากรายละเอียดในโจทย์ปัญหา หรือในงานที่สนใจ เพื่อให้ได้องค์ประกอบที่จำเป็น เพียงพอต่อการพิจารณาภายใต้สถานการณ์ที่สนใจ
จากภาพข้างต้นมีข้อมูลเพียงพอในการใช้วิเคราะห์การทำงานของระบบรอก
และตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นในการพิจารณาออกทั้งหมด
เรียกภาพหรือแผนภาพต่างๆ ที่เป็นผลลัพธ์ของการคิดเชิงนามธรรมว่า “แบบจำลอง (Model)”
การคิดเชิงนามธรรมเป็นเครื่องมือที่ทำให้นักเรียนสามารถจัดการกับแนวคิดหรือปัญหาที่ซับซ้อนด้วยการเลือกเฉพาะสิ่งที่สำคัญและลดทอนรายละเอียดที่ไม่จำเป็นทิ้งไป เมื่อตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไปแล้ว
จะสังเกตได้ว่าแบบจำลองที่ได้นั้น
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ความรู้และวิธีการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น