บทที่ 8 การกำหนดปัญหา
การกำหนดปัญหา
การพัฒนาโครงงานเป็นกิจกรรมที่เริ่มจากการศึกษาสิ่งที่นักเรียนสนใจ
จากนั้นดำเนินการออกแบบ วางแผน ลงมือปฏิบัติจนเกิดผลลัพธ์ และเผยแพร่ผลงานนั้น
ซึ่งนักเรียนจะเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในสิ่งที่สนใจอย่างถ่องแท้
แนวทางการพัฒนาโครงงาน
ควรเริ่มจากการกำหนดปัญหา
ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน
หรือปัญหาที่มีผู้แก้ไขไว้แล้ว แต่เราเห็นช่องทางที่จะพัฒนาให้ดีขึ้น
หลังจากกำหนดปัญหาแล้ว เราต้องทำการศึกษาและกำหนดขอบเขตของปัญหา ที่ต้องการแก้ไข
รวมทั้งศึกษาความรู้เพิ่มเติม แล้ว วางแผนกำหนดกิจกรรมและการใช้ทรัพยากรต่าง
ๆ
จากนั้นดำเนินการพัฒนาโครงงานตามแผนที่วางไว้
ซึ่งระหว่างการพัฒนา อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนแผน
เพื่อให้พัฒนาโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดที่กำหนดไว้
เมื่อพัฒนาโครงงานเสร็จแล้ว จึงทำการ สรุปผลและเผยแพร่ผลงานเพื่อเป็นประโยชน์แก้ผู้อื่นต่อไป
การกำหนดปัญหา
การพัฒนาโครงงานที่ดี
จะต้องมีการกำหนดปัญหาให้ชัดเจนว่า ปัญหาคืออะไร เกิดจากอะไร
มีประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง
สามารถแก้ไขหรือปรับปรุงใดได้บ้าง โดยแนวทางการกำหนดปัญหามีดังนี้
1. ที่มาของปัญหา
1.1 ปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น การควบคุมค่าใช้จ่ายส่วนตัว หรือในครอบครัว
เป็นต้น
1.2 ปัญหาในการเรียน หรือการทำงาน เช่น การลืมทำการบ้าน
1.3 ปัญหาในระดับชุมชน หรือระดับประเทศ เช่น
ปัญหานักท่องเที่ยวไม่รู้จักแหล่งท่องเที่ยวในชุมมชน
2. แหล่งจุดประกายความคิดในการพัฒนาโครงงาน อาทิ
– กิจกรรมในชีวิตประจำวัน การเรียน งานอดิเรก และงานที่รับผิดชอบ
– โทรทัศน์ รวมทั้งข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต
– หนังสือ วารสาร ภาพยนตร์ การ์ตูน เกม หรือสื่อต่างๆ
– การเข้าค่ายอบรม การร่วมอภิปราย
– ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน หรือแหล่งท่องเที่ยว
3. องค์ประกอบเพื่อการตัดสินใจเลือกโครงงาน
3.1 ความรู้ ความสามารถ ความสนใจ
ความถนัด และประสบการณ์ของผู้ทำโครงงาน
โดยพิจารณาได้จากคะแนนวัดผลความรู้หรือผลงานที่เคยปฏิบัติ
3.2 ประโยชน์ของโครงงาน
โดยโครงงานนั้นจะต้องสามารถนำภาระงาน ชิ้นงาน
และกิจกรรมอิสระนั้นไปพัฒนาและใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
3.3 ความคิดสร้างสรรค์
โดยเป็นโครงงานที่ไม่มีผู้ใดทำไว้หรือเป็นการพัฒนาโครงงานที่มีผู้อื่นทำไว้แล้ว
ซึ่งโครงการนั้นจะต้องมีความแปลกใหม่และทันสมัย
3.4 ระยะเวลา โดยผู้ทำโครงงานควรกำหนดวันสิ้นสุดโครงงานให้ชัดเจน
เพื่อให้สามารถประมาณระยะเวลาลงในตารางดำเนินการของโครงงานในแต่ละขั้นตอน
3.5 ค่าใช้จ่าย โดยผู้ทำโครงงานจะต้องประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ยึดหลักความคุ้มค่า ในการทำโครงงานด้วยการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วมากกว่าการจัดหาใหม่
3.6 ความปลอดภัย
โดยผู้ทำโครงงานควรเลือกทำโครงงานที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ทำโครงงาน สังคม
และประเทศชาติ หากโครงงานนั้นมีความเสี่ยงที่อาจเกิดอันตราย
ผู้ทำโครงงานควรประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การทำโครงงานคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ในการดูแลและควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ(Professional)
3.7 ค่านิยมและวัฒนธรรมท้องถิ่น
โดยผู้ทำโครงงานควรหลีกเลี่ยงการทำโครงงานที่ขัดต่อความเชื่อ วัฒนธรรม
หรือประเพณีต่างๆ ของท้องถิ่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น