วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

บทที่ 7 การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล


บทที่ 7 การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล


การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล
ในบทเรียนนี้จะได้เรียนรู้กับขั้นตอนวิธีพื้นฐานในการจัดเรียงข้อมูล (Sort) และการค้นหาข้อมูล (Search) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สัมพันธ์กันที่ใช้ในการแก้ปัญหาที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน

การจัดเรียงข้อมูล
การจัดเรียงข้อมูลเป็นสิ่งที่พบอยู่เสมอ เมื่อต้องการประมวลผลข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น ครูตรวจข้อสอบของนักเรียน และต้องการบันทึกคะแนนลงสมุดบันทึกคะแนนนักเรียนที่มีการเรียงเลขที่เอาไว้ การเรียงลำดับข้อมูลด้วยเงื่อนไขที่เหมาะสมจะทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างสถานการณ์
ให้เรียงลำดับตัวเลขในตารางด้านล่างนี้ จากน้อยไปหามาก


โดยทั่วไปการเรียงลำดับจำนวนเต็ม อาจใช้การจัดเรียงข้อมูลได้ 2 แบบ คือ


 1. การจัดเรียงแบบเลือก (Selection sort)
การเรียงลำดับแบบเลือก เป็นขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับอย่างง่ายโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบ ทำงานโดยการหาค่าเหมาะสมที่สุด (ค่ามากสุดหรือน้อยสุด) ที่อยู่ในรายการส่วนที่ยังไม่เรียงและนำค่าเหมาะที่สุดนั้นมาต่อท้ายของส่วนที่เรียงแล้ว


ภาพแสดงขั้นตอนการทำงานของการเรียงลำดับแบบเลือก โดยสีเหลือง คือ เรียงเรียบร้อยแล้ว , สีแดง คือ ค่าที่น้อยที่สุดในปัจจุบัน และสีฟ้า คือ ค่าที่กำลังพิจารณา


2. การเรียงลำดับแบบแทรก (Insertion sort)
การเรียงลำดับแบบแทรก เป็นขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับอย่างง่าย ทำงานโดยจะแบ่งข้อมูลในรายการเป็นสองส่วนคือส่วนที่เรียงแล้วและส่วนที่ยังไม่เรียง แน่นอนว่าในตอนเริ่มแรกส่วนที่เรียงแล้วก็จะมีอย่างน้อยหนึ่งตัว และจะเริ่มหยิบข้อมูลตัวหนึ่งของส่วนที่ยังไม่เรียงมาเปรียบเทียบเพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการแทรกลงในข้อมูลส่วนที่เรียงแล้ว ลักษณะเดียวกับการเรียงไพ่ในมือ ดังนั้นการเรียงลำดับแบบแทรกจึงไม่เหมาะในการทำงาน ในรายการที่มีจำนวนสมาชิกมาก ๆ


ภาพแสดงขั้นตอนการทำงานของการเรียงลำดับแบบแทรก












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น